About Stevia
หญ้าหวาน

     Promotion! ส่งฟรีทั่วประเทศ สนใจหญ้าหวานโทร 086-3807337 Line id : catyawan

ด่วน! ขณะนี้เรามีน้ำเชื่อมหญ้าหวาน (Stevia Syrup) หวานกว่านำ้ตาล 3 เท่า แต่น้ำตาล 0% ให้รสหวานเหมือนน้ำตาลมาก เหมาะใช้ใส่ในอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด โดยเฉพาะร้านกาแฟสด ร้านสมูทตี้ ร้านผลไม้ปั่น รวมถึงแฟรนไชส์ต่างๆที่ติดต่อเข้ามามาก ตอนนี้เรามีจำหน่ายแบบขายส่งถังแกลลอน 40 กก.ในราคาถูกมากๆค้า

สำหรับผู้ประกอบการ SME ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ตอนนี้เรามีราคาขายส่งสารสกัดหญ้าหวานเกรด PREMIUM แบบเป็น กก.แล้ว ในราคาเบาๆ รสชาติหวานกลมกล่อมเหมือนน้ำตาลแต่ไม่มีน้ำตาล (Sugar Free) ใช้แทนน้ำตาลในสูตรได้เลย ไม่ยุ่งยาก ดีต่อสุขภาพและ image ในสินค้าของท่าน ติดต่อเราด่วน!

หญ้าหวานคือสมุนไพรชนิดหนึ่งเป็นพืชล้มลุกมีลักษณะคล้ายต้นใบกะเพรา ใบสมุนไพรหญ้าหวานมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเฉกเช่นเดียวกับในใบชาเขียวแต่มีมากกว่าคือรสหวานจัด ตัวใบจะให้รสหวานกว่าน้ำตาล 10-15 เท่า แต่เมื่อนำใบมาสกัดจะให้ความหวานสูงถึง 250-300 เท่าของน้ำตาลทรายแต่ไม่ให้พลังงาน จึงเป็นที่นิยมในหลายๆประเทศ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีที่ผู้คนนิยมบริโภคแต่อาหารที่ดีต่อสุขภาพ จึงมีการนำสารสกัดจากสมุนไพรหญ้าหวานมาใช้แทนน้ำตาลหรือทดแทนน้ำตาลบางส่วนมากว่า 35 ปีแล้วทั้งในอาหารและเครื่องดื่มได้แก่ น้ำชาเขียว น้ำอัดลม ขนมเบเกอรี่ ไอศกรีม แยม เยลลี่ ซอสปรุงรส ลูกอม หมากฝรั่ง และอื่นๆ

ในบ้านเราคนทางภาคเหนือจะรู้จักสมุนไพรหญ้าหวานเป็นอย่างดีในรูปแบบชาชงสมุนไพรหญ้าหวานดื่มเพื่อสุขภาพ มีสรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่และยังมีการนำใบสมุนไพรหญ้าหวานแห้งมาใส่ในอาหารขณะปรุงเพื่อทดแทนน้ำตาลและผงชูรส จึงเหมาะสมมากสำหรับผู้ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ป่วยเบาหวาน

             สมุนไพรหญ้าหวานเป็นพืชพื้นเมืองของบราซิลและปารากวัย ชาวพื้นเมืองได้ใช้สารหวานจากใบหญ้าหวานนี้ผสมกับชากินมากว่า 1,500 ปี ต่อมาญี่ปุ่นนำมาใช้อย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 ในประเทศไทยเริ่มมีการนำมาปลูกเมื่อปี พ.ศ. 2518 บริเวณที่ปลูกกันมากได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา น่าน ภาคเหนือเป็นพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมเนื่องจากหญ้าหวานชอบอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 10-16 องศาเซลเซียส และขึ้นได้ดีเมื่อปลูกในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ600-700 ม.  

             สารสกัดจากใบหญ้าหวานได้แก่ Stevioside ให้รสหวานกว่าน้ำตาลถึง 250 เท่า และมีข้อดีเหนือกว่าน้ำตาลหลายอย่าง เช่น ไม่ทำให้ฟันผุ ทนต่อความร้อนและกรด ไม่ทำให้อาหารเกิดสีน้ำตาลเมื่อผ่านความร้อนสูงๆ สามารถนำมาปรุงอาหารร้อนบนเตาได้ ไม่ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ เพราะฉะนั้นเมื่อใช้กับอาหาร จึงไม่ทำให้เกิดการบูดเน่า และประการสำคัญที่สุด คือไม่ถูกดูดซึมในระบบการย่อย จึงไม่ให้พลังงาน ทานเท่าไรก็ไม่ทำให้อ้วน



นวัตกรรมหญ้าหวานในรายการชั่วโมงทำกิน Thai PBS


 

                                                    หญ้าหวานในรายการจุดเปลี่ยน

หญ้าหวานในรายการจุดเปลี่ยน --> สารสกัดจากหญ้าหวานปลอดภัยและดีกว่าสารหวานเทียมอย่างไร
www.youtube.com/watch?v=gJOZ8Ttdcxg



ปลดล็อค หญ้าหวาน จากสมุนไพรอันตรายสู่สมุนไพรสุขภาพ
www.youtube.com/watch?v=VQWUrVNEmoU
 



หญ้าหวานและสรรพคุณ
www.youtube.com/watch?v=h8o5CV5psys



สารสกัดจากต้นหญ้าหวาน
www.youtube.com/watch?v=3FksXv2_-C4



ช่อง 3 รายการคัดข่าวดี สมุนไพรหญ้าหวาน อีกทางเลือกเพื่อทดแทนน้ำตาล
www.youtube.com/watch?v=25G_OEbHnuU


steviauk
ที่มา : http://www.coca-cola.co.uk/health/introducing-stevia-sweetener.html
 

มาแล้วครับสินค้าที่ใช้สารสกัดหญ้าหวานในบ้านเรา



















 

 
                        photo via www.facebook.com/LiptonThailand
 

                 photo via www.youtube.com/watch?v=Np1L_ROhtqw
 

                                photo via www.marketinfo.co.th

  
                                 photo via www.manager.co.th/
 

Stevia rebaudiana is herb native to the valley of Paraguay and Brazil.  It has been used as a sweetener for approximately 1,500 years, in parts of South America.  Stevia leaf is 15 to 20 times sweeter than sugar & its extracts (Stevioside) are around 250 times sweeter than sugar with zero calories.  Stevia can be used as all natural sweetener to substitute sugar or artificial sweetener in cooking, baking and beverages such as green tea drink, carbonated drinks, fruit juices, health & sports drinks, yoghurts, desserts, jams & jellies, snacks, candies & confectioneries, chocolates, pastries, cookies, noodles, ketchup, beer, soya sauces, pickled vegetables, chewing gum, toothpaste etc.
 

In the early 1970s, the Japanese began cultivating stevia as an alternative to artificial sweeteners and have produced stevia sweeteners commercially since 1977.  In Japan, stevia accounts for more than 40 percent of the sweetener market, making Japan the largest consumer of stevia.  Today stevia is consumed by billions of people from its native origins of Paraguay & Brazil to Japan, Korea, China, Taiwan, Australia, New Zealand, Malaysia, USA, Canada, Russia, France, Germany and other countries. Stevia is likely to become a major source of high potency sweetener for the growing natural food market in the future.

Why Stevia ?

▪ 100% Natural

▪ Safe For Diabetics

▪ No Bitter After Taste

▪ Zero Calories / Zero Fat

▪ Zero Carbohydrates

▪ Non Glycemic

▪ Heat Stable upto 200 C

▪ Sweetness Stability in all Production Processes

▪ Non Toxic & Non Addictive Sweetener

▪ Prevents Fermentation

▪ Anti Oxidant

  

Therapeutic Benefits Beyond Sweetness ?

           Stevia is not only non-toxic, but has several traditional medicinal uses. The Indian tribes of South America have used it as a digestive aid, and have also applied it topically for years to heal wounds. Re cent clinical studies have shown it can increase glucose tolerance and decrease blood sugar levels. Research and Studies in Brazil showed a blood sugar lowering effect of stevia when patients were given 20 grams a day.  Many studies in Korea and Japan showed a blood pressure and cholesterol lowering effect with doses of 250 milligrams of stevioside twice a day.

 

Stevia and Weight Loss ?


           Stevia is an ideal dietary supplement for anyone who wants to lose or maintain their weight. Because it contains no calories, it can satisfy cravings for sweets without adding extra pounds. It is also thought that using stevia may decrease the desire to eat fatty foods as well. Appetite control is another factor affected by stevia supplementation. Some people have found that their hunger decreases if they take stevia drops 15 to 20 minutes before a meal. While scientific studies are lacking in this area, it is presumed that the glycosides in stevia help to reset the appestat mechanism found in the brain, thereby promoting a feeling of satiety or satisfaction. Using stevia to sweeten snacks and beverages can result making weight loss and management

much easier.

  

Stevia superiority over artificial sweeteners ?


            Artificial sweeteners like aspartame (Equal) and sucralose (Spenda) are reported to contribute to certain forms of cancer, cause headaches, suppress body immune system etc. Enough information & research studies are available over internet, to support the above claims. Health conscious Japan now uses stevia rather than aspartame which was banned because of its health risks.

  

 Is Stevia safe ?

It has a history of safe usage dating back 1,500 years. Over a 150 medical studies confirm that it is completely non-toxic & non-carcinogenic (do not cause cancer). Regulatory approvals for the use of Stevia as a food

additive has been received in Japan, South Korea, China, Taiwan, USA, Canada, France, Germany, Australia, New Zealand, Malaysia, Russia, Ukraine,
Kazakhstan, Latin America etc.
 

“หญ้าหวาน” คุณค่าดีมีต้นขาย

stevia
ไทยรัฐ 04/2558

 

ผู้อ่านไทยรัฐ จำนวนมากที่นิยมปลูกพืชจำพวกสมุนไพรอยากทราบว่า “หญ้าหวาน” เป็นอย่างไร และปัจจุบันมีต้นขายที่ไหนบ้าง เนื่องจากไปหาซื้อแล้วยากมาก ซึ่งเป็นจังหวะที่พบว่ามีผู้ขยายพันธุ์นําต้นออกวางขายประปรายแต่ไม่มากมายเช่นยุคแรกๆ ที่เป็นไม้ยอดฮิตมีต้นขายทั่วไป จึงรีบแจ้งให้แฟนคอลัมน์ทราบอีกทันทีตามระเบียบ

หญ้าหวาน หรือ STEVIA-STEVIA REBAUDINA BERTONI อยู่ในวงศ์ COMPOSITAE เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 30-90 ซม. แตกกิ่งก้านสาขาตํ่า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปใบหอกกลับหรือรูปใบหอกแกมขอบขนาน ปลายใบกว้างและแหลม โคนใบป้านหรือสอบ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีรสหวาน

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอดและปลายยอดแต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อย 1-3 ดอก มีกลีบเลี้ยงรูปกรวยสีเขียวปลายแยกเป็นแฉกหลายแฉก ดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบแหลม สีขาวสดใส ใจกลางดอก มีเกสรเป็นเส้นสีขาวบิดงอโผล่พ้นกลีบดอก เวลามีดอกดูสวยงามแปลกตามาก “ผล” เป็นผลแห้งไม่แตก ภายในมีเมล็ด ดอกออกตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำต้น

ใบพบว่ามีสารหวานชื่อ STEVIOSIDE มีความหวานกว่านํ้าตาลทราย 250-300 เท่า แต่ STEVIO-SIDE จะไม่ให้พลังงานทำให้ไม่อ้วน จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคไขมันในเส้นเลือดสูง และจากการทดลองในสัตว์ไม่พบพิษเฉียบพลันด้วย จึงเป็นพืชที่มีคุณค่าน่าปลูกเป็นอย่างยิ่ง

หญ้าหวาน มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 21 แผง “คุณพร้อมพันธุ์” โทร.08-1854-9640 แต่มีไม่มากนัก ราคาสอบถามกันเอง ปัจจุบันมีการนำเอาใบ “หญ้าหวาน” ไปแปรรูปขายทั่วไปครับ.

“นายเกษตร”


ฮือฮา ! โคคา-โคล่า เปิดตัวโค้กเพื่อสุขภาพในอาร์เจนตินา

steviacocacola1

ฐานเศรษฐกิจ 08/2556
 

บริษัท โคคา โคล่า ในอาร์เจนติน่า เปิดตัวน้ำอัดลมเพื่อสุขภาพ ใช้สารทดแทนความหวานที่สกัดมาจากพืชธรรมชาติอย่าง "หญ้าหวาน” เพื่อลดแคลอรี่และน้ำตาลในเครื่องดื่มลง บริษัท โคคา โคล่า ของอาร์เจนติน่า เปิดตัวน้ำอัดลมเพื่อสุขภาพ มีชื่อว่า “โคคา โคล่า ไลฟ์” (Coca Cola Life) ที่ลดแคลอรี่และน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ลง แต่รสชาติยังคงเหมือนเดิม โดยผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ล่าสุดนี้ไม่ใช้น้ำตาล แต่ใช้สารทดแทนความหวานที่สกัดมาจากพืชธรรมชาติอย่าง “หญ้าหวาน” แทน

โดยโคคา โคล่า ไลฟ์ยังถือว่าเป็นเครื่องดื่มน้ำอัดลมชนิดแรกที่สามารถนำสารทดแทนความหวานที่สกัดจากพืชธรรมชาติมาใช้ในผลิตภัณฑ์ได้เป็นผลสำเร็จ นอกจากนี้แล้วยังได้เปลี่ยนฉลากของผลิตภัณฑ์โคคา-โคล่า ไลฟ์ให้เป็นสีเขียว จากเดิมที่เป็นสีแดง เพื่อสื่อถึงว่าเครื่องดื่มนี้มีสารสกัดจากธรรมชาติอีกด้วย อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ บริษัทโคคา-โคล่า เคยนำสารทดแทนความหวานซึ่งสกัดจากหญ้าหวานไปใช้ในเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ อีก 45 ชนิดแล้ว อย่างเช่น ในเครื่องดื่มวิตามินวอเตอร์ ซีโร่ และแฟนต้า ซีเล็ค

หญ้าหวานเป็นพืชพื้นเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศปารากวัยในทวีปอเมริกาใต้ ความพิเศษของหญ้าหวาน คือ ส่วนของใบให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10-15 เท่า แต่ความหวานนี้ไม่ก่อให้เกิดพลังงานแต่อย่างไร นอกจากนี้ ยังมีสารสกัดที่เกิดจากหญ้าหวานชื่อว่า สตีวิโอไซด์ (stevioside) เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่า 200-300 เท่าของน้ำตาล ด้วยความพิเศษของหญ้าหวานจึงเป็นพืชที่ได้รับความสนใจทั้งทางด้านอุตสาหกรรม การแพทย์ ยาสมุนไพร และ เครื่องดื่ม อีกด้วย

 

"หญ้าหวาน" ใบหวานกว่าน้ำตาล

new

ไทยรัฐ 09/2553

 

เมื่อไม่นานมานี้ ผมพอมีเวลาเดินทางไปเยี่ยมเพื่อน ที่มีอาชีพปลูกไม้ดอกไม้ประดับและพืชสมุนไพรหลายชนิด เพื่อให้คนซื้อไปวางขายที่สวนย่าน อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี พบว่ามีพืชสมุนไพรปลูกไว้ด้วยหลายอย่างน่าสนใจ เช่น ต้นเฉาก๊วย ต้นเก๊กฮวยดอกเหลือง รวมทั้ง "หญ้าหวาน" ด้วย ซึ่ง "หญ้าหวาน" ดังกล่าวเคยแนะนำในคอลัมน์ไปนานแล้ว โดยในตอนนั้นมีผู้นำเอาต้นวางขายไม่มากนัก และต่อมา "หญ้าหวาน" ได้ขาดหายไปไม่พบว่ามีต้นวางขายที่ไหนอีกเลย จึงถ่ายภาพนำเรื่องเสนอในคอลัมน์อีกครั้ง


หญ้าหวาน  หรือ  STEVIA,  STEVIA  REBAUDIANA BIRTONI อยู่ในวงศ์ COMPOSITAE ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูงตั้งแต่ 30-90 ซม. แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มโปร่ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามตามข้อลำต้น เป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกปลายและโคนใบแหลม กว้างประมาณ 1-1.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย สีเขียวสด ซึ่งใบเมื่อนำไปเคี้ยวจะมีรสหวานมาก


ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกเป็นสีขาว เวลามีดอกจะดูแปลกตาคล้ายดอกหญ้ามาก "ผล" เป็นผลแห้ง ไม่แตก ภายในมีเมล็ดดอกออกตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำกิ่ง

ใบ ที่มีรสหวานพบว่ามีสารหวานชื่อ STEVIOSIDE ซึ่งหวานกว่าน้ำตาลทราย 250-300 เท่า โดยสาร STEVIOSIDE  จะไม่ให้ พลังงานเหมือนกับน้ำตาล ทรายทั่วไป   เมื่อรับประทานแล้วไม่ทำให้อ้วน เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานที่สามารถรับประทานได้ และ คนที่มีไขมันในเลือดสูงเช่นเดียวกัน จากการทดลองในสัตว์ไม่พบพิษเฉียบพลัน ดังนั้น "หญ้าหวาน" จึงมีแนวโน้มที่ดีในการที่จะนำไปใช้ในเชิงอุตสาหกรรม ทำเป็นเครื่องดื่ม อย่างไร ก็ตาม ควรวิจัยถึงพิษระยะยาวด้วยว่าจะมีผลต่อการใช้หรือบริโภคหรือไม่ จะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง

ปัจจุบัน "หญ้าหวาน" นอกจากพบมีการเพาะขยายพันธุ์ปลูกที่สวนของเพื่อน "นายเกษตร" ดังกล่าวแล้ว  มีผู้นำต้นไปวางขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณ แผง"คุณตุ๊ก"  หน้าตึกกองอำนวยการ  และยังนำไปวางขายในงาน "สมุนไพรแห่งชาติ" ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ก.ย. ถึงวันที่ 5 ก.ย. ที่เมืองทองธานี บริเวณโซน7-8 อีกด้วย ส่วนราคาสอบถามกันเองครับ.
 

  
รู้หรือไม่ "ใบหญ้าหวาน" รักษาโรคได้ หาคำตอบได้ที่ ม.มหิดล


ผู้จัดการ 03/2553
 
        ทีมวิจัยภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทย์ฯ ม.มหิดล คิดค้นสารสกัดจากใบหญ้าหวาน "สตีไวโอไซด์"มีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครส 300 เท่า มีคุณสมบัติพิเศษ เหมาะสำหรับรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อหิวาตกโรคเป็นโรคระบาดที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Vibrio cholera ในลำไส้ เชื้อดังกล่าวสามารถสร้างสารพิษ cholera toxin กระตุ้นการหลั่งของคลอไรด์อิออน จากเซลล์ลำไส้เข้าสู่โพรงลำไส้เป็นจำนวนมาก
       
       “คลอไรด์อิออน” ดังกล่าวสามารถดึงดูดเกลือโซเดียมและน้ำเข้าสู่โพรงลำไส้ จึงทำให้ผู้ป่วยสูญเสียน้ำทางลำไส้และนำไปสู่การขาดน้ำอย่างรุนแรงซึ่งมี อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โรคนี้ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา แต่ละปีมีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคนี้หลายแสนคน โดยส่วนใหญ่เกิดกับเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี การรักษาในปัจจุบันคือการให้ผู้ป่วยกินสารละลายเกลือแร่(ORS) เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป ซึ่งการรักษาโดยวิธีดังกล่าวไม่ได้ช่วยลดอาการท้องร่วงโดยเฉพาะในผู้ป่วย เด็กหรือผู้สูงอายุ
   
       จากปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ทีมวิจัยของ รศ.ดร. วรนุช ฉัตรสุทธิพงษ์ และ อ.ดร.นพ. ฉัตรชัย เหมือนประสาท ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำไปสู่การศึกษาสารสกัดจากใบหญ้าหวาน (Stevia rebaudiana Bertoni) ชื่อ "สตีไวโอไซด์" (stevioside) ซึ่งมีความหวานมากกว่าน้ำตาล ซูโครส 300 เท่า เมื่อเข้าสู่ลำไส้แล้ว จุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่จะย่อยสตีไวโอไซด์เป็นสตีไวออล (steviol)และน้ำตาลกลูโคส สตีไวออลจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ส่วนน้ำตาลกลูโคสจะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลาย ดังนั้นสตีไวโอไซด์จึงเป็นสารให้ความหวานที่ให้แคลอรี่ต่ำมาก ในปัจจุบันได้มีการนำสารนี้ผสมในเครื่องดื่มและอาหารบางประเภทโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีนและบราซิล

       ทีมวิจัย กล่าวเพิ่มว่า นอกจากประโยชน์ในการใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลซูโครสสำหรับคนที่ต้อง การลดความอ้วนหรือผู้ป่วยโรคเบาหวานแล้ว ยังมีรายงานว่ามีการใช้สารสกัดจากใบหญ้าหวานในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศต่างๆ แถบทวีปอเมริกาใต้อีกด้วย
       
       “เราค้นพบว่า สตีไวออลสามารถยับยั้งการหลั่งของคลอไรด์อิออนในเนื้อเยื่อลำไส้ของมนุษย์ ได้ และด้วยความร่วมมือกับนักเคมีทำให้ค้นพบสารอนุพันธุ์ของสตีไวออลอีกหลายตัว ที่มีฤทธิ์ดีกว่าสตีไวออล จากการศึกษาคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของสารในกลุ่มนี้พบว่าสารกลุ่มนี้ยับยั้ง การหลั่งของคลอไรด์อิออนในเซลล์ลำไส้มนุษย์โดยการยับยั้งการทำงานของโปรตีน ขนส่งคลอไรด์อิออนชื่อว่า Cystic fibrosis transmembrane conductance regulator (CFTR) และสารดังกล่าวไม่มีพิษต่อเซลล์ลำไส้แต่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อโปรตีนขนส่ง คลอไรด์อิออน CFTR เท่านั้น เมื่อฉีดสารพิษ cholera toxin เข้าลำไส้ของหนูถีบจักร พร้อมกับสารอนุพันธุ์สตีไวออลพบว่าสามารถลดการสูญเสียน้ำทางลำไส้ได้มากกว่า ร้อยละ 90"
       
       อ.ดร.นพ.ฉัตรชัย ตัวแทนทีมวิจัย กล่าวทิ้งท้ายว่า “การค้นพบดังกล่าวสามารถนำไปสู่การวิจัยและพัฒนา สารอนุพันธุ์ของสตีไวออลเพื่อเป็นยารักษาอหิวาตกโรคและโรคท้องร่วงอื่นๆ ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ใหม่คือการลดการสูญเสียน้ำจากลำไส้และคาดว่าเมื่อใช้ ร่วมกับการรักษาแบบเดิมคือการให้ผู้ป่วยดื่มสารละลาย ORS จะเพิ่มประสิทธิผลในการรักษาให้ดียิ่งขึ้น ขณะนี้ทางกลุ่มวิจัยกำลังพัฒนาสารในกลุ่มดังกล่าวเพื่อใช้ในการรักษาโรคท้อง ร่วงและโรคอื่นๆ ที่สามารถใช้อนุพันธ์สตีไวออลได้ผล
 

 

โค้ก-เป๊ปซี่แลกหมัดสังเวียนเดือด ชิงตลาดเครื่องดื่มโลว์แคลอรีใหม่

ฐานเศรษฐกิจ 12/2551

ทันทีที่องค์การอาหารและยา (เอฟดีเอ) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้การรับรองความปลอดภัยในการใช้สารให้ความหวานชนิดใหม่ซึ่งสกัดจากต้นหญ้าหวาน (Stevia) เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โค้ก และเป๊ปซี่ ก็ได้เปิดตัวเครื่องดื่มรุ่นใหม่ที่ใช้สารสกัดดังกล่าวในวันเดียวกันนั้นเอง

  บริษัท โคคา-โคลา จำกัด (โค้ก) และบริษัท เป๊ปซี่ โค จำกัด (เป๊ปซี่) ประกาศในวันพุธ (17 ธันวาคม) ถึงแผนการใช้สารสกัดจากต้นหญ้าหวานเป็นสารให้ความหวานกับเครื่องดื่มที่จะออกจำหน่ายในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งเป็นการเปิดเผยแผนธุรกิจในวันเดียวกันกับที่เอฟดีเอ ประกาศให้การรับรองว่าสารสกัดจากต้นหญ้าหวานนั้นมีความปลอดภัย  

โค้กมีแผนที่จะนำสารสกัดจากต้นหญ้าหวานมาใช้เป็นสารให้ความหวานกับเครื่องดื่ม สไปรท์ และน้ำผลไม้ ออดวาลลา (Odwalla) โดยจะใช้สารสกัดจากต้นหญ้าหวานที่ผลิตโดยบริษัท คาร์กิล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำงานร่วมกับโค้กในการพัฒนาสารสกัดจากต้นหญ้าหวานที่มีชื่อทางการค้าว่า ทรูเวีย (Truvia) มาระยะหนึ่งแล้ว 

  ส่วนเป๊ปซี่ประกาศว่าจะใช้สารสกัดจากต้นหญ้าหวานที่มีชื่อทางการค้าว่า เพียวเวีย (PureVia) ซึ่งเป็นผลงานจากการร่วมพัฒนาระหว่างเป๊ปซี่กับบริษัท โฮลเอิร์ท สวีทเทนเนอร์ จำกัด มาเป็นสารให้ความหวานกับผลิตภัณฑ์น้ำดื่มเพื่อสุขภาพโซบี ไลฟ์วอเตอร์ และน้ำส้ม ทรอปิคานา แบบแคลอรีต่ำ  

  เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คาร์กิล และ โฮลเอิร์ท สวีทเทนเนอร์ ได้ยื่นหนังสือขอการรับรองความปลอดภัยในการใช้สารสกัดจากต้นหญ้าหวานไปยังเอฟดีเอ ซึ่งเอฟดีเอก็ได้ใช้เวลาพิจารณาระยะหนึ่งก่อนที่จะประกาศให้การรับรองความปลอดภัยในการใช้สารสกัดจากต้นหญ้าหวานเมื่อวันพุธที่ผ่านมา  

สารสกัดจากต้นหญ้าหวานมีความสำคัญต่อธุรกิจของโค้ก และ เป๊ปซี่เป็นอย่างมาก เพราะได้ช่วยเปิดช่องทางการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้กับผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทผู้ผลิตได้โปรโมตทรูเวีย และ เพียวเวีย ในฐานะผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติทำให้ผู้บริโภคให้ความสนใจมากขึ้นอย่างชัดเจน และในช่วงที่ผ่านมาโค้ก และ เป๊ปซี่ ได้ใช้สารสังเคราะห์ เช่น แอสปาแตม (Aspartame) ซูคราโลส (Sucralose) หรือ เอซ-เค (Ace-K) เป็นสารให้ความหวานในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภท ไดเอต เป็นหลัก  

  ทั้งนี้โค้กจะเริ่มทำตลาดน้ำผลไม้ ออดวาลลา โมฮิโต แมมโบ และ ออดวาลลา พอมเมอกราเนท สตอว์เบอร์รี่ ซึ่งใช้ทรูเวียเป็นสารให้ความหวานจะบรรจุในขวดขนาด 8 ออนซ์ พร้อมปริมาณพลังงาน 50 แคลอรีจะออกสู่ตลาดในช่วงสัปดาห์นี้เป็นต้นไป ก่อนที่จะทำตลาดน้ำอัดลม สไปร์ท กรีน ในขวดอะลูมิเนียมขนาด 8.5 ออนซ์ ที่มีพลังงานเพียง 50 แคลอรีต่อขวดในกรุงนิวยอร์กและชิคาโก ช่วงสิ้นปีนี้และจะออกจำหน่ายในจำนวนจำกัดในช่วงแรกของการทำตลาด

  ขณะที่เป๊ปซี่จะเริ่มจำหน่าย โซบี-ไลฟ์วอเตอร์ กลิ่นแบล็กเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ฟูจิแอปเปิล แพร์ และยัมเบอรี่ พอมเมอกราเนท ที่ใช้เพียวเวีย เป็นสารให้ความหวานในร้านค้าบางแห่งตั้งแต่สัปดาห์หน้า ก่อนที่จะขยายขอบเขตการจัดจำหน่ายไปยังพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศในช่วงกลางเดือนมกราคมปี 2552 ทั้งยังจะแนะนำน้ำผลไม้ ทรอป 50 ที่ใช้เพียวเวียเป็นสารให้ความหวาน ทำให้มีปริมาณน้ำตาลและพลังงานต่ำกว่าน้ำส้มทั่วไปถึง 50% ในช่วงเดือนมีนาคมปีหน้า

 


 ทิศทางและอนาคตหญ้าหวานไทย

 

 มติชน 07/2550


ในประเทศไทย ได้มีการนำหญ้าหวานมาทดลองปลูกในเมืองไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 โชคดีที่ต้นหญ้าหวานเจริญงอกงามดีในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศซึ่งมีความเหมาะสมมาก สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 400-500เมตร อากาศเย็น การปลูกหญ้าหวานให้ผลผลิตสารรสหวานสตรีวิโอไซต์ได้ดีมาก ขึงเผยแพร่การปลูกกันมากที่ภาคเหนือเท่านั้น ใบของมันนำมาตากแห้งและชงทำเป็นชาหรือเครื่องดื่มสมุนไพรและอาจนำมาผสมเครื่องดื่มรสหวานทั่วไป

หญ้าหวานเคยเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกกันมากในภาคเหนือ โดยเฉพาะที่เชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย ที่เชียงใหม่ปลูกกันมากที่อำเภอแม่แตงและอำเภอสันกำแพง เคยทำรายได้ให้แก่ประเทศชาติมหาศาล ได้มีการส่งใบแห้งเป็นสินค้าส่งออกไปต่างประเทศปีละหลายล้านบาท นับว่ามีการปลูกและจำหน่ายหญ้าหวานในเชิงพาณิชย์มานานกว่า 16 ปี และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นการเพิ่มและพยุงฐานะของชาวไร่หลายหมื่นครอบครัว เพราะปลูกง่าย การดูแลง่าย ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง เพียงแต่ตัดใบขายและนำไปตากแห้ง การตัดใบไม่ทำให้ต้นตายกลับงอกใบใหม่เหมือนต้นชา ในช่วงนั้นผลผลิตของการปลูกหญ้าหวานดีกว่าการปลูกข้าวหรือพืชไร่ทั่วไป ซึ่งเกษตรกรอาจปลูกหญ้าหวานหลังการทำนา การปลูกต้นกล้า 10,000-12,000 ต้นต่อไร่ ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและกำจัดวัชพืช เก็บเกี่ยวใบทุก 3-4เดือน ได้ผลผลิต600-1,000 กิโลกรัม ใบสดต่อไร่ ต่อปี เกษตรกรลงทุน 12,000 บาทต่อไร่ สามารถทำรายได้ปีละ 20,000-24,000บาทต่อไร่ กำไรไม่ต่ำกว่า8,000 บาท ต่อไร่ต่อปี

หญ้าหวานมีสารรสหวานไกลโคไซด์ ได้แก่ สตีโอไวด์ 5-8 เปอร์เซ็นต์ และรีบาวดิโอไซด์1-2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200-300 เท่า ต่อน้ำหนัก สามารถละลายน้ำ ทนต่อความร้อน ทนต่ออากาศและแสงสว่างได้ดี สามารถสกัดสารบริสุทธิ์ดังกล่าวได้ พบว่าโครงสร้างทางเคมีของสตีวิโอไซด์ ประกอบด้วยสติออลและน้ำตาลกลูโคส

นักวิจัยได้ศึกษาคุณสมบัติชีวภาพและความปลอดภัยของสตีวิโอไซด์ มีการนำสารสตีวิโอไซด์ในรูปผงหรือรูปสารละลายเข้มข้นไปแทนน้ำตาลทราย ผสมในน้ำอัดลม น้ำหวาน ขนมเค้ก ลูกกวาด ยา เครื่องดื่มทุกชนิด ผักดอง ผลไม้ดอง หมากฝรั่ง ยาสีฟัน ได้เป็นอย่างดี หญ้าหวานเป็นที่นิยมในหมู่ของผู้บริโภค และอุตสาหกรรมทำอาหารและเครื่องดื่มลดหวาน เนื่องจากหญ้าหวานให้รสหวานมากและคุณสมบัติของสารรสหวานที่ไม่ให้แคลอรี่ จึงมิทำให้อ้วนได้เหมือนการบริโภคน้ำตาลโดยทั่วไป

คนไทยกินหญ้าหวาน 2 แบบ แบบสมุนไพรที่มีการนำใบหญ้าหวานผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เพื่อเพิ่มรสหวานในชาสมุนไพรหรือยาชงสมุนไพร และแทนน้ำตาลในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน มีการใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มหมอเมือง กลุ่มสันติอโศก และมีการนำสมุนไพรมาใส่ซองผสมกับสมุนไพรอื่นทั้งๆ ที่มีการประกาศห้ามใช้ในประเทศ คนไทยกลุ่มหนึ่งยังคงใช้สารหวานสังเคราะห์ยี่ห้อดังๆ จากต่างประเทศในรูปแบบโดยตรงและโดนอ้อม คือผสมในเครื่องดื่มต่างๆ

หญ้าหวานและสารสกัดสตีวิโอไซด์ จึงไม่ให้พลังงานสะสมแก่ร่างกาย ไม่ทำให้อ้วนและไม่กลายเป็นสารไขมัน ไม่มีผลกระทบทางชีวภาพต่อหนูทดลองแต่อย่างใด แม้จะให้สัตว์กินในปริมาณที่สูงมาก็ไม่มีความเป็นพิษทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังต่อสัตว์ทดลอง ทางระบาดวิทยายังไม่เคยมีรายงานการป่วยหรือสุขภาพไม่สบายที่เกิดจากการบริโภคหญ้าหวานเป็นประจำแต่ประการใด ในทางตรงกันข้าม แพทย์ผู้ใช้หลายคนยอมรับว่าหญ้าหวานได้ช่วยบรรเทาความเจ็บป่วยแก่ผู้ที่ต้องงดหรือหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำตาลซึ่งแสลงต่อโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคไขมันเกินในเส้นเลือดได้ เพราะการรับสารความหวานจากหญ้าหวานในรูปแบบของชา หรือผสมเครื่องดื่มทดแทนการบริโภคน้ำตาลทราย จะไม่ส่งผลต่อการเกิดสภาวะความรุนแรงของโรคเบาหวาน

ผลิตภัณฑ์สารสกัดหญ้าหวาน ในรูปแบบสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์โดยแยกสารอื่นที่ไม่ต้องการออก คุณภาพและราคาผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับปริมาณสารรสหวานไกลโคไซด์ และอัตราระหว่างสตีวิโอไซด์และรีบาวดิโอไซด์ มีผลิตภัณฑ์จากสารสกัดหญ้าหวานที่สะอาดและมีสีขาวมากขึ้น ซึ่งมีสารรสหวานไกลโคไซด์แตกต่างกันระหว่าง 40-95 เปอร์เซ็นต์ มีการนำจากการผสมสารสกัดหญ้าหวานกับสารอื่นๆ เช่น น้ำตาลแลคโตส และมอบโตเดกซ์ตริน ปรากฏว่า ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีรสชาติเป็นที่ยอมรับและดีกว่าสารบริสุทธิ์

ในเรื่องของความปลอดภัยจากการบริโภคหญ้าหวานและผลิตภัณฑ์ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ ฉบับที่ 145 พ.ศ.2535 โดยอ้างว่ายังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะยืนยันความปลอดภัย โดยเฉพาะข้อมูลจากประเทศสหรัฐอเมริกาขณะนั้นยังไม่ยืนความปลอดภัย ทั้งๆ ที่ญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ ได้มีการอนุญาตให้ใช้ได้นานแล้ว และเนื่องจากปัญหาการไม่สามารถใช้น้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเสื่อมสภาพ โรคติดเชื้อ และโรคอ้วนมากขึ้น จึงมีนักวิจัยจากประเทศต่างๆ หันมาให้ความสนใจและกำลังพิจารณาที่จะใช้หญ้าหวานมาทดแทนการบริโภคน้ำตาลมากขึ้น

หลังจากที่ในอดีตได้ฝากความหวังไว้กับกระทรวงสาธารณสุขในสมัยรัฐบาลนายกชวนหลีกภัย และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข นายกร ทัพพะรังสี ผลที่คาดหวังก็ยังไม่สำเร็จ จนกระทั่งสมัยนายกทักษณ ชินวัตร และอดีต รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสาธารณสุข นพ.สุรพงษ์ สืบวงค์ลี ได้รื้อฟื้นความปลอดภัยของหญ้าหวานมาอีกครั้งหนึ่งประชุมกับนักวิชาการและตัวแทนจาก องค์การอาหารและยาอีกหลายครั้งได้ข้อสรุปว่า สารบริสุทธิ์ที่เป็นสตีวิโอไซด์มีความปลอดภัย ไม่ทำให้เกิดโรคมะเร็งและเป็นพิษเรื้อรังอย่างใด

แต่หลังจากที่นักศึกษาทีม Idyll Life มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการส่งโครงเรื่อง สารสกัดจากหญ้าหวาน ได้รับรางวัลเป็นเงินสนับสนุนการเริ่มต้นธุรกิจมูลค่า 183,500 ล้านเหรียญสหรัฐ สนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจในสหรัฐอมริกาด้วย จึงทำให้คนไทยตื่นตัวสนใจหญ้าหวานมาก อนาคตและธุรกิจหญ้าหวานคึกคักอีกครั้งหนึ่ง มีการติดต่อซื่อหญ้าหวานกันเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หญ้าหวานขาดตลาด เพราะว่าในโกดังหรือสต๊อกของผู้จำหน่ายไม่มีหญ้าหวานในปริมาณเพียงพอ เพราะยังไม่มีการส่งเสริมการปลูก คงต้องระดมทุนและใช้เวลาในการจัดการบริหารในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมหญ้าหวานอีกต่อไป

แม้ว่าในอดีต ธุรกิจของหญ้าหวานจะมีปัญหาและอุปสรรคหลายด้าน สถานการณ์ในปัจจุบันด้านการยอมรับและด้านเศรษฐกิจเริ่มจะดีขึ้น สำหรับธุรกิจหญ้าหวานในประเทศไทยในอนาคต ยังบอกไม่ได้ชัดเจนว่าจะเป็นไปในทิศทางใดและเป็นอย่างไร แต่แนวโน้มก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ

หญ้าหวานเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจและน่าติดตาม สารสกัดหรือสารรสหวานสตีวิโอไซด์มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคจำนวนมากจำเป็นต้องใช้สารรสหวานทดแทนน้ำตาลทราย แม้ว่าจะมีสารรสหวานสังเคราะห์ในตลาดก็ตาม แต่ก็ไม่มีควมปลอดภัยหรือมั่นใจได้เท่ากับสารรสหวานสังเคราะห์ในตลาดก็ตาม แต่ก็ไม่มีความปลอดภัยหรือมั่นใจได้เท่ากับสารรสหวานจากธรรมชาติ จึงทำให้สถานการณ์การยอมรับและด้านเศรษฐกิจของหญ้าหวานทั้งในปัจจุบันและอนาคตเริ่มจะดีขึ้น. 

  


  โค้กเตรียมขาย น้ำตาลจากหญ้าหวาน

  
ข่าวสด  คอลัมน์ หมุนก่อนโลก 07/2550
 

 


หญ้าหวาน หรือ Stevia กำลังเป็นที่สนใจของอุตสาหกรรมอาหาร  เนื่องจากหญ้าหวานนี้มีความหวานสูงกว่าน้ำตาลถึง 300 เท่า แต่กลับให้แคลอรีเท่ากับ "0" กินเท่าไหร่ไม่มีอ้วน 

 

 

หญ้าหวานพบมากในปารากวัย ชนพื้นเมืองเผ่ากัวรานีกินหญ้าหวานกันมานานกว่า 900 ปีแล้วจากคุณสมบัติของหญ้าหวานที่กินแล้วไม่อ้วน ไม่ติด ไม่ใช่สารเสพติด ทำให้บริษัท โคคาโคล่า และบริษัท คาร์กิล วางแผนวางตลาดน้ำตาลจากหญ้าหวาน ภายใต้ชื่อ "เรเบียน่า" ในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตาม องค์การอาหารและยาของสหรัฐยังไม่ให้มีการขายหญ้าหวานในประเทศ ขณะที่ประเทศสหภาพยุโรปเองก็จำกัดการใช้หญ้าหวาน เช่น ให้ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางเท่านั้น แต่ประเทศละตินอเมริกาอย่าง อาร์เจนตินา บราซิล เอกวาดอร์ และประเทศเอเชีย อย่างจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ต่างให้การยอมรับพืชชนิดนี้แล้ว

 

 

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยอะซังซิโอน พบว่า หญ้าหวานมีคุณประโยชน์หลายอย่าง เช่น ต้านอนุมูลอิสระ ต้านแบคทีเรียดีต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และลดอาการฟันผุ หญ้าหวานยังมีคุณสมบัติดีกว่าสารสังเคราะห์เอสปาแตม เนื่องจากทนอุณหภูมิได้ถึง 200 องศาเซลเซียส น้ำตาลจากหญ้าหวานจึงเอาไปใช้ในการอบขนมได้
 

แม้ปารากวัยจะเป็นแหล่งปลูกหญ้าหวานชั้นดี แต่จีนกลับมีพื้นที่ปลูกหญ้าหวานมากที่สุดคือ 50,000 เอเคอร์ ถึงกระนั้น ปารากวัยก็ไม่กลัวจีน เพราะหญ้าหวานที่ปารากวัยให้ผลผลิตดีกว่า เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม 

 
 
 
 
ผลวิจัยเครื่องดื่มสมุนไพรไทย 30 ชนิด ชะลอความแก่ได้


มติชน 06/2550

 
นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ สธ.เผยผลวิจัยเครื่องดื่มสมุนไพร30ชนิด มีสรรพคุณต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่น ชะลอความแก่ได้ถึง 80%
 

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ดร.นิทรา เนื่องจำนงค์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ 8 ประจำศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พิษณุโลก กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ได้เสนอผลการวิจัยเรื่องฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเครื่องดื่มสมุนไพรพร้อมบริโภค โดยเก็บตัวอย่างจากสถานที่จำหน่ายในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2548 ถึงเดือนเมษายน 2549 จำนวน 224 ตัวอย่าง ประกอบด้วยเครื่องดื่มสมุนไพรชนิดน้ำ 121 ตัวอย่าง ชนิดผง 40 ตัวอย่าง และชาชงสมุนไพร 63 ตัวอย่าง

ผลการวิเคราะห์พบว่า ในเครื่องดื่มสมุนไพรทั้งชนิดน้ำและผง ชาชงสมุนไพรจำนวน 53 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 24 มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงมากกว่าร้อยละ 80 ซึ่งอนุมูลอิสระที่พบคือ สารชะลอความแก่หรือสารต้านริ้วรอยเหี่ยวย่นของผิวหนัง จากผลการทดลองในห้องปฏิบัติการ พบว่าชาชงและเครื่องดื่มน้ำสมุนไพร มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง โดยพบน้อยที่สุดในเครื่องดื่มชนิดผง

 ดร.นิทรา กล่าวว่า สมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากการศึกษาครั้งนี้มีทั้งหมด 30 ชนิด แบ่งเป็น 3 ประเภท ประเภทชาชง ได้แก่ รางจืด หญ้าหนวดแมว ชาดำ พลูคาว ชาเขียว ฟ้าทะลายโจร หญ้าหวาน บอระเพ็ด หญ้าดอกขาว กระเจี๊ยบ ดอกคำฝอย มะตูม ใบบัวบก และชาฤาษี ประเภทเครื่องดื่มพร้อมบริโภค

 ได้แก่ น้ำมะขามป้อม น้ำสมอไทย น้ำมะม่วงหิมพานต์ น้ำมะเกี๋ยง น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะเฟือง น้ำเม่า น้ำองุ่น น้ำลูกยอ น้ำสตรอเบอรี่ น้ำมะยม น้ำว่านชักมดลูก น้ำกระชายดำ และน้ำเก็กฮวย ประเภทเครื่องดื่มผง ได้แก่ เครื่องดื่มผงใบเตยและหญ้าหนวดแมว

อย่างไรก็ตาม ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของสมุนไพร ความเข้มข้นของน้ำสมุนไพร กรรมวิธีการผลิต อายุของพืช ส่วนของพืชที่นำมาใช้ อายุของผลิตภัณฑ์ การเก็บรักษา ความคงตัวของสารออกฤทธิ์ ซึ่งจะต้องทำการศึกษาความเหมาะสมต่อไปอีกขั้นหนึ่ง

 


 
  พบหญ้าหวานและผลิตภัณฑ์หญ้าหวาน ในงานมหกรรมพืชสวนโลก
 
 
 
   
สวท.เชียงใหม่ 01/2550
 
 

ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ สำนักงานค้นคว้าวิจัยสมุนไพรไทย จ.เชียงใหม่ เผยหญ้าหวาน เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะโรคเบาหวานและชอบดื่มหรือกินอาหารที่มีรสหวาน นอกจากปลอดภัยไม่สะสมในร่างกาย ขณะนี้เตรียมเสนอขออนุญาตจาก อย. เพื่อผลิตสารสกัดจากหญ้าหวานจำหน่าย
 

พญ.เวฬุรีย์ ศรีเทพ ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ สำนักงานค้นคว้าวิจัยสมุนไพรไทย จังหวัดเชียงใหม่ ได้เปิดเผยถึงหญ้าหวาน ว่า ได้รู้จักหญ้าหวานและได้ปลูกมาตั้งแต่ปี 2522 หญ้าหวานเป็นพืชที่ให้ความหวานแต่ปราศจากแคลอรี่ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วร่างกายสามารถขับออกมาได้ทันทีไม่มีการสะสมในร่างกาย นอกจากนี้หญ้าหวานยังมีสารที่สามารถต่อต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งช่วยเสริมสร้างสุขภาพ

ปัจจุบันได้รับการอนุญาต จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้ใช้ใบมาบริโภคได้ โดยผู้บริโภคสามารถนำใบสดของหญ้าหวานมาปรุงอาหาร เพื่อเพิ่มความหวาน ถือว่าเป็นพืชชูรสอีกชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ที่มีนิสัยชอบรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ดังนั้นสามารถใช้หญ้าหวานมาปรุงเป็นอาหาร โดยอาจจะใช้ใบสด หรือนำไปตากแห้ง ก็สามารถนำมาใช้ในการปรุงอาหารได้ สำหรับการพัฒนาหญ้าหวาน ปัจจุบันนี้ได้นำมาสกัดออกมาในรูปผงสีขาว ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำไปชงกับกาแฟ หรือนำไปปรุงอาหารได้

พญ.เวฬุรีย์ ศรีเทพ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สารที่ทำให้เกิดความหวานในหญ้าหวานที่สำคัญได้แก่กลัยโคไซค์ ที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 150-300 เท่า แต่ให้แคลอรี่ต่ำมากเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้น จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะโรคเบาหวานและชอบกินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน สำหรับผลิตภัณฑ์ของสารที่สกัดจากหญ้าหวานนั้น ยังอยู่ในระหว่างการจัดตั้งโรงงานซึ่งต้องรอ อย.อนุญาตก่อน คาดว่าอีกไม่นานก็จะมีผลิตภัณฑ์ดังกล่าวออกวางจำหน่าย

 
 
 

 
 
สนช.ทดสอบ'หญ้าหวาน'ทำเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ


กรุงเทพธุรกิจ 02/2449

 
 
   
      สำนักนวัตกรรมฯ ปลุกธุรกิจสารสกัดหญ้าหวานในอุตฯเครื่องดื่มและอาหาร เผยส่งสารสกัดให้เอกชนผสมในเครื่องดื่ม ทำวิจัยทดสอบรสชาติ 

      หลังจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้การยอมรับสารสกัดจากใบหญ้าหวานทีเรียกว่า "สตีวิโอไซด์" เมื่อปี 2545 โดยจัดอยู่ในกลุ่ม "อาหารควบคุมเฉพาะ" จากเดิมได้ห้ามผลิต ใช้และจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากไม่แน่ใจในเรื่องความปลอดภัย กระทั่งหน่วยงานวิจัยต่างๆ ได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลด้านความปลอดภัยและการใช้ประโยชน์ พบว่าหญ้าหวานและสารสตีวิโอไซด์ มีความปลอดภัยหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม 

       นายชาญวิทย์ รัตนราศรี ผู้ประสานงานโครงการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า สนช.ร่วมกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มในไทย อยู่ระหว่างศึกษาการใช้ "สารสตีวิโอไซด์" ซึ่งเป็นสารสกัดจากใบหญ้าหวาน โดยใช้เป็นสารปรุงแต่งรสหวานทดแทนน้ำตาลในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม เพื่อศึกษาให้ครอบคลุมทุกด้านทั้งเทคนิคการผลิต ต้นทุนวัตถุดิบและการตลาด อาทิเช่น ปริมาณใช้ที่เหมาะสม รสชาติ กลิ่น ราคาสารสกัดสตีวิโอไซด์และการยอมรับของผู้บริโภค โดยได้รับการสนับสนุนสารสกัดหญ้าหวานจำนวนหนึ่ง จากเอกชนผู้ผลิตและส่งออกสารสกัดจากพืชและสัตว์  

      ใบหญ้าหวานมีสารให้ความหวานหลายชนิด แต่จะมีสารสตีวิโอไซด์เป็นส่วนใหญ่ และให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 100-300 เท่า แต่ "ไม่ให้พลังงาน" จึงเหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่ต้องการลดความอ้วน และไม่ทำให้ฟันผุเมื่อใช้ในลูกอม อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวยังไม่ถูกนำมาใช้แพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทย เนื่องจากกฎระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 

      "สนช.สนใจในคุณสมบัติของสารสตีวิโอไซด์ ทั้งยังเป็นสารจากธรรมชาติ ประกอบกับกระแสสุขภาพในกลุ่มผู้บริโภคจำนวนหนึ่ง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยเบาหวาน จึงน่าจะมีสารที่ให้รสหวานทดแทนน้ำตาลทราย และสารหวานที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี และเมื่อพิจารณาถึงสารหวานจากธรรมชาติแล้ว ก็มาลงตัวที่สารสตีวิโอไซด์ แม้จะติดขัดเล็กน้อยตรงเงื่อนไขของ อย.ก็ตาม" ผู้ประสานงานโครงการฯ กล่าว

     ส่วนประเด็นเชิงพาณิชย์ของสารสตีวิโอไซด์  ถือว่ามีความเหมาะสมที่จะส่งเสริม เพื่อทดแทนการนำเข้าสารหวานสังเคราะห์ปีละหลายร้อยล้านบาท อีกทั้งยังมีตลาดเครื่องดื่มสุขภาพ ซึ่งขยายตัวเร็วมากและคาดว่าจะขยายตัวถึง 7,000-10,000 ล้านบาท ที่จะเป็นตลาดสำคัญของสารสตีวิโอไซด์ ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและอาหารในต่างประเทศต้องการสารดังกล่าวมาก โดยราคาจำหน่ายประมาณกิโลกรัมละ 10,000 บาท ขณะที่หญ้าหวานสามารถปลูกได้เพียงบางพื้นที่เท่านั้น 

     ด้วยเหตุดังกล่าว สนช.จึงร่วมกับภาคเอกชน จัดทำแนวทางพัฒนาโครงการนวัตกรรมจากหญ้าหวานในรูปแบบ "ธุรกิจเชิงนวัตกรรม" ตั้งแต่รูปแบบหรือระบบการเพาะปลูกให้เกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี ทั้งยังสนับสนุนให้เกิดผู้ลงทุนในการสกัดสารสตีวิโอไซด์เชิงพาณิชย์ จากปัจจุบันมีผู้ผลิตรายใหญ่ในไทยเพียง 2 ราย ขณะที่ เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าหวานเริ่มมีมากขึ้น โดยส่วนใหญ่อยู่บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังสนใจส่งเสริมการใช้สตีวิโอไซด์ทดแทนการใช้สารหวานสังเคราะห์ในอุตสาหกรรมต่างๆ

 
 

 
  
*หญ้าหวาน* ทางเลือกของคนอ้วน
 
 
ผู้จัดการ 11/48
 
 
       ใครที่ชอบความหวานคงต้องมานั่งกลุ้มอกกลุ้มใจไม่น้อย เนื่องจากไม่สามารถเติม “น้ำตาล” ได้ตามใจชอบเหมือนที่ผ่านมา
       
       อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ใช่ว่าจะไร้ทางออกเสียทีเดียว เมื่อมีการค้นพบสรรพคุณของ “หญ้าหวาน” สมุนไพรที่สามารถให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาลถึง 300 เท่า แถมยังให้พลังงานและแคลอรี่ต่ำ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานและคนที่ต้องการลดความอ้วนเป็นอย่างดี
       
       พ.ญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในฐานะเลขานุการมูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การค้นพบสารหวานจากสมุนไพรที่มีชื่อว่าหญ้าหวานถือเป็นอีกความสำเร็จหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ไทยทำได้ เพราะความหวานจากหญ้าหวานนั้น สามารถนำมาใช้แทนน้ำตาล เนื่องจากมีความหวานคล้ายคลึงน้ำตาลมาก
       
       สำหรับหญ้าหวานมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni จัดอยู่ในวงศ์ Astcraceac เป็นพืชล้มลุกระยะยาว มีลักษณะคล้ายต้นกะเพราหรือต้นแมงลัก เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบราซิลและปารากวัยในทวีปอเมริกาใต้ มีการนำมาปลูกและเผยแพร่ในไทยเป็นระยะเวลามากกว่า 20 ปี
       
       ในหญ้าหวานมีสารกลัยโคซัยด์(glycosides) 88 ชนิด สารสำคัญคือ Rcbaudiosides A,B,C,D,E ; Dulcoside A และ Stevioside สาร Stevioside ซึ่งเป็นสารหวานคล้ายคลึงกับน้ำตาลทรายมาก โดยปริมาณสูงสุดในหญ้าหวานทั่วไปและเป็นสารที่มีรสหวานจัดจะมีความหวานประมาณ 300 เท่าของน้ำตาลซูโครส
       
       การออกรสหวานของสารหวานในหญ้าหวานจะไม่เหมือนกับของน้ำตาลทรายทีเดียว เพราะจะออกรสหวานช้ากว่าน้ำตาลทรายเล็กน้อยและรสหวานจะจางหายไปช้ากว่าน้ำตาลทราย นอกจากนี้ยังเป็นสารที่ไม่มีคุณค่าทางอาหารเพราะมีแคลอรี่ต่ำมากเมื่อเทียบกับน้ำตาลทราย เนื่องจากไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงานในร่างกาย และพบอีกว่า สารหวานในหญ้าหวานทนต่อความร้อนและสภาวะความเป็นกรดเป็นด่างได้ดี รวมทั้งยังเป็นสารที่มีพิษเฉียบพลันต่ำและปลอดภัยสูง
พญ.เพ็ญนภาบอกว่า จากคุณสมบัติของสารหวานดังกล่าว ในปัจจุบันมีการนำมาใช้เป็นสารที่ให้ความหวานสำหรับอาหารและเครื่องดื่มบางประเภท โดยใช้แทนน้ำตาลทรายบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งวัตถุประสงค์สำคัญคือ ลดปริมาณแคลอรี่ในอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งไม่สามารถบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากๆ ได้ นอกจากนั้น ในหลายประเทศก็มีการยอมรับหญ้าหวานอย่างเป็นทางการ เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ บราซิลและปารากวัย ซึ่งชาวปารากวัยและบราซิลก็ยังมีประวัติการบริโภคหญ้าหวานมาเป็นระยะเวลานาน
       
       จากข้อมูลเบื้องต้นน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการแพทย์ไทย ที่จะส่งเสริมและแนะนำให้ผู้ป่วยหรือกลุ่มประชาชนที่รักสุขภาพ มีการบริโภคความหวานจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ได้จากสมุนไพรเพื่อเป็นการลดต้นทุนหรือลดการนำเข้าสารหวานสังเคราะห์จากต่างประเทศได้
       
       ทั้งนี้ ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) อนุญาตให้นำสารสกัด stevioside มาขึ้นทะเบียนเป็นสารหวานแทนน้ำตาลได้
 
 
 

 
 
 
 

Copyright by GREEN FOODS ASIA CO.,LTD © 2009 All rights reserved.
Engine by MAKEWEBEASY